หน้าแรก
คณะผู้บริหาร
ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพกิจกรรม
เว็บบอร์ด
สมุดเยี่ยม
ติดต่อเรา
ห้องเรียนIS
เมนูห้องสมุด
ประวัติ
ปรัชญา วิสัยทัศน์
พันธกิจ ภารกิจ
เป้าหมาย คติพจน์
ยุทธศาสตร์ สัญลักษณ์
ระเบียบการเข้าใช้
โครงสร้างการทำงานห้องสมุด
การจัดหมวดหมู่หนังสือ
จำนวนสมาชิกห้องสมุด
จำนวนหนังสือ
ทำเนียบผู้บริหาร
สืบค้นฐานข้อมูลหนังสือ
สืบค้นหนังสือจากห้องสมุด
ปฏิทินกิจกรรม
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
ฝ่ายงานบริหาร
งานธุรการ
งานสนับสนุนการเรียนการสอน
งานจัดหาบุคลากร
งานจัดหาหนังสือ
งานจัดหาวัสดุครุภัณฑ์
งานกิจกรรม/โครงการ
งานประชาสัมพันธ์
งานพัสดุ
งานอาคารสถานที่
ฝ่ายงานเทคนิค
งานประทับตราลงทะเบียน
งานวิเคราะห์จัดหมวดหมู่
งานบำรุงรักษาหนังสือ
ฝ่ายงานบริการ
บริการยิม-คืน
บริการ CD-ROM
บริการ Internet
บริการสืบค้น O-PAC
บริการกฤตภาค
บริการวารสารหนังสือพิมพ์
บริการสืบค้นข้อมูลท้องถิ่น
บริการตอบคำถามช่วยค้นคว้า
ฝ่ายงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
กฎระเบียบ
พันธกิจ
งานด้านการเรียนการสอน
งานประชาสัมพันธ์
งานซ่อมบำรุง
ชมรมยุวบรรณารักษ์
คณะกรรมการห้องสมุด
กิจกรรมการเรียนการสอน
ผลงาน
จดหมายข่าวห้องสมุด
ปีที่1ฉบับที่1มกราคม55
ปีที่2ฉบับที่2มีนาคม55
ปีที่2ฉบับที่3กรกฎาคม2555
ปีมี่2ฉบับที่4สิงหาคม55
ปีที่2ฉบับที่5กันยายน2555
เครือข่ายห้องสมุด
ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย
ห้องสมุดการแพทย์และสุขภาพ
ห้องสมุดดาราศาสตร์
ห้องสมุดรัฐสภาไทย
ห้องสมุดกาญจนาภิเษก
หอสมุดแห่งชาติ
ร้านหนังสือออนไลน์
ซัคเซส มีเดีย
ซีเอ็ดยูเคชั่น
มติชน
ร้านหนังสือดอกหญ้า
ร้านนายอินทร์
ศูนย์หนังสือจุฬา
ศูนย์หนังสือ ส.ส.ท.
เอกซเปอร์เน็ทบุ๊คส์
ASIA BOOKS
หนังสือพิมพ์
กรุงเทพธุรกิจ
เดลินิวส์
ไทยนิวส์
ไทยรัฐ
บ้านเมือง
คมชัดลึก
โพสต์ทูเดย์
ไทยโพสต์
แนวหน้า
มติชน
โลกวันนี้
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านชอบอ่านหนังสือประเภทอะไรมากที่สุด
ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ
คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์
นวนิยาย
วรรณกรรม
ความรู้ทั่วไป
ภาษาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
วรรณคดี
นวนิยาย
สถิติผู้เยี่ยมชม
เปิดเว็บไซต์
17/05/2012
ปรับปรุง
17/08/2021
สถิติผู้เข้าชม
1254693
Page Views
1695676
สาระน่ารู้
ล้างใจให้ปลอดโปร่งโล่งสบาย
ล้างใจให้ปลอดโปร่งโล่งสบาย (Health Plus)
เก็บกวาดสิ่งที่รกสมองออกไปให้หมด ถึงเวลาที่คุณจะคืนพื้นที่ให้สมอง เพื่อให้เกิดความปลอดโปร่งโล่งสบาย
นอนไม่หลับเพราะงานกองสุมหัว หงุดหงิดเพราะต้องรอคิวนาน แม่สามีเอาเรื่องชวนปวดหัวมาให้ สารพันปัญหาเหล่านี้ ทำให้สมองของคุณหนักอึ้ง ถึงเวลาที่คุณต้องจัดระเบียบสิ่งที่อยู่ในหัวของคุณ หาวิธีทำจัดต้นเหตุแห่งความเครียดที่อยู่กับคุณเป็นอาจิณ แล้วคุณจะรู้สึกมีความสุขมากขึ้น และหากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นตรงไหน เรามีคำตอบมาให้...
ความเครียดแบบที่ 1 มีงานรัดตัวจนกระดิกกระเดี้ยไม่ได้ สุดท้ายงานก็ไม่เสร็จสักอย่าง!
ทางแก้
"แจกแจงงานทั้งหมด จัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำก่อนหลัง"
ดร.แคตติ มอสส์ อายุรแพทย์กล่าว "เขียนความคิดต่าง ๆ ในหัวลงบนกระดาษ จะได้มีที่ว่างในหัวของคุณมากขึ้น เมื่อคุณเขียนรายการงานที่ต้องทำแล้ว ให้โยนสิ่งที่สุมอยู่ในหัวคุณทิ้งไปซะ จากนั้น เริ่มลงมือทำงาน ถึงตรงนี้ให้ถามตัวเองถึงงานที่ต้องทำ
"คุณจำเป็นต้องทำงานนี้จริงหรือไม่"
แล้วคุณจะแปลกใจที่หลายครั้งคำตอบที่ได้ คือ "ไม่" จะเห็นว่า การแจกแจงรายการงานที่ต้องทำในครั้งแรก คือการสร้างพื้นที่ว่างให้สมอง แต่การแจกแจงรายการในครั้งที่สอง คือรายการงานที่ต้องทำจริง ซึ่งไม่ควรมีเกินกว่า 10 รายการ
ความเครียดแบบที่ 2 ฉันกังวลเรื่องงานอยู่ตลอดเวลา!
ทางแก้
แม้จะรู้ดีว่าวิตกกังวลใจไปก็ไร้ประโยชน์ แต่เราทุกคนก็อดไม่ได้ ถามตัวเองดูสิว่า ความวิตกกังวลเปลี่ยนอะไร ๆ ให้ดีขึ้นได้หรือไม่ หากได้ก็จงวิตกกังวลต่อไป หากไม่ได้ จงหายใจเข้าลึก ๆ นับ 1 ถึง 10 นึกถึงแต่เรื่องที่มีความสุข เผชิญความวิตกกังวลด้วยความเบิกบาน
"ความเบิกบานใจเป็นพื้นฐานของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ทำให้คุณรู้จักมองความทุกข์ได้เข้าถึงอย่างรอบด้าน โดยให้ความสำคัญกับมันน้อยลง"
ลิซ ทักเกอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความเครียดกล่าว วางแผนทำกิจกรรมที่สร้างความสุขให้ตัวเองอย่างน้อยวันละหนึ่งอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการคุยกับเพื่อน เดินเล่นในสวนสาธารณะ กินอาหารอร่อย ๆ ที่ภัตตาคาร หรือแม้แต่การอาบน้ำอย่างสบายใจด้วยสบู่ หรือแชมพูกลิ่นหอมสดชื่น
ความเครียดแบบที่ 3 ฉันไม่กล้าปฏิเสธเวลามีคนมาขอความช่วยเหลือจากฉัน มันทำให้ฉันแทบบ้าตาย!
ทางแก้
ถึงเวลาที่พลังอำนาจของคำว่า
"ไม่"
เข้ามามีบทบาท ซึ่งตรงข้ามกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ การเซย์โนไม่จำเป็นต้องก่อให้เกิดผลลบเสมอไป หากคุณชอบพูดคำว่า
"ได้ค่ะ"
กับทุกเรื่อง แล้วต้องมานั่งเครียดกับเรื่องพวกนี้ในภายหลัง คงถึงเวลาที่คุณต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางภารกิจต่าง ๆ ลงบ้าง รวมถึงรู้จักตอบปฏิเสธ เริ่มจากการตอบปฏิเสธใครสักคนอย่างน้อยวันละครั้ง แต่อย่าใช้น้ำเสียงเกรี้ยวกราดอธิบายเหตุผลที่ต้องปฏิเสธ โดยพูดทำนองว่า
"วันนี้ฉันคงช่วยทำไมได้ แต่ถ้าเป็นอาทิตย์หน้าไม่มีปัญหา"
มาดูสิว่าเกิดอะไรขึ้นต่อไป พวกเขาอาจไปขอความช่วยเหลือจากคนอื่นแทน ไม่ช้าคุณจะรู้สึกมั่นใจ และกล้าที่จะตอบปฏิเสธในเวลาที่จำเป็น คุณจะเริ่มสังเกตพบว่าความรู้สึกของคุณดีขึ้น การตอบปฏิเสธทำให้คุณมีพลังอำนาจและสุขุมเยือกเย็น
ความเครียดแบบที่ 4 หงุดหงิดร้อนใจอยู่เรื่อย!
ทางแก้
อดโมโหไม่ได้เวลาที่แม่สามีติว่า อาหารที่คุณทำรสชาติไม่เป็นสับปะรด หรือพูดใส่อารมณ์กับสามี เวลาที่คุณเห็นเขาทิ้งผ้าเช็ดตัวบนเตียง หรือเถียงกับน้องสาวด้วยเรื่องเดิม ๆ ว่าใครติดหนี้ใคร ถ้าเหล่านี้คือปัญหาของคุณ มีวิธีแก้ง่าย ๆ คือ หายใจลึก ๆ 5 ครั้ง นับ 1 ถึง 10 หรือมิฉะนั้นก็เดินออกจากห้องไปเลย แล้วเดินกลับเข้ามาใหม่เมื่ออารมณ์เย็นลง จากนั้นจัดการกับปัญหาด้วยอารมณ์ขัน โดยพูดว่า
"ละอายใจจังที่แม่ไม่ปลื้มอาหารที่หนูทำ ถ้างั้นไปซื้ออาหารปรุงสำเร็จมาทานกันดีไหมคะ"
หรือ
"บอกฉันหน่อยได้ไหมว่า นิสัยอย่างไหนของฉันที่คุณไม่ชอบ ถ้าฉันเลิกทำนิสัยแบบนั้น คุณก็ควรเลิกทำนิสัยแบบนี้"
หรือพูดว่า
"เราเลิกทะเลาะกันด้วยเรื่องแบบนี้เถอะ เปลี่ยนเรื่องพูดดีกว่า...เอ่อ งานใหม่ของเธอเป็นยังไงบ้าง"
การแก้เผ็ดที่ดีที่สุดคือการทำใจให้เย็น พยายามควบคุมอารมณ์ตัวเองในเวลาที่คนอื่นควบคุมอารมณ์ของตนไม่ได้ แล้วคุณจะรู้สึกเหมือนเป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะ มากกว่าเป็นวัยรุ่นใจร้อน แต่ถ้ายังรู้สึกเครียดหรือหงุดหงิดไม่หาย เลสลี่ เคนตัน กูรูด้านสุขภาพแนะให้ลองทานโสมซึ่งมีสรรพคุณช่วยบำบัดความเครียด "นำรากโสมตากแห้ง 25 กรัมผสมกับชา 1 ถ้วย ดื่มแก้เครียด"
ความเครียดแบบที่ 5 ฉันติดรายการข่าว ชอบฟังเรื่องกอสซิปขาดไม่ได้เลย ทำยังไงให้สมองปลอดโปร่งไม่เครียดกับข่าวที่รับฟังมาทั้งวัน!
ทางแก้
การหยุดพักไม่รับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ หรือทีวีสักหนึ่งวัน จะทำให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แทนที่จะเอาแต่นั่งเสพข่าว
คุณน่าจะเอาเวลาไปจัดการกับข้าวของที่วางระเกะระกะซึ่งทำให้บ้านรกดีกว่า ถามตัวเองดูสิว่า การเสพข่าวสารเป็นกลวิธีหลีกหนีจากความวุ่นวาย ทำให้คุณได้พักผ่อนสมองจริงหรือไม่
ขั้นต่อไปคือ การดีท็อกซ์สิ่งแวดล้อมรอบตัว การเก็บกวาดห้องให้เป็นระเบียบคือการทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง ไม่สับสนวุ่นวาย เริ่มจากประกาศวันทิ้งขยะ ซึ่งเป็นวันที่คุณจะสำรวจข้าวของที่ไม่ใช้ เก็บกระดาษทุกแผ่นมัดรวมกัน ดูว่ากระดาษแผ่นไหนเป็นเอกสารสำคัญหรือต้องโยนทิ้ง ลบอีเมล์ขยะทิ้ง และลบอีเมล์แอดเดรสของคุณออกจากลิสต์รายชื่ออีเมล์ เวลากรอกข้อมูลแบบฟอร์มใด ๆ ในเว็บไซต์ ให้ทำเครื่องหมายที่ช่อง "ไม่" รับข้อมูลเสริมใด ๆ และอย่าให้อีเมล์แอดเดรสของคุณกับเว็บไซต์ใด ๆ หากไม่จำเป็น
เคล็ดลับสุขภาพ สุขภาพใกล้ตัว โรคและการป้องกัน คลิกเลย
คลิกอ่านความคิดเห็นของเพื่อนๆ ได้ที่นี่ค่ะ
โพสเมื่อ :
25 ม.ค. 2560,15:18
อ่าน
608
ครั้ง