เว็บบอร์ด
เฉพาะสมาชิกเท่านั้นต้องการสมัครสมาชิกใหม่ คลิกที่นี่ หรือเข้าระบบ คลิกที่นี่
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน L.C.
โพสโดย
joy ลั้นลา
การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification)
                การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันนี้เรียกย่อ ๆ  ว่าระบบ  L.C.  ผู้คิดคือ  ดร.เฮอร์เบิร์ต พุทนัม  (Herbert Putnum)       คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1899   ขณะที่ทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ซึ่งปัจจุบันเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก   ตั้งอยู่    ณ กรุงวอชิงตัน   สหรัฐอเมริกา   การจัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือมิได้อิงหลักปรัชญาใด ๆ มิได้เรียงลำดับวิทยาการ  แต่กำหนดหมวดหมู่ตามหนังสือสาขาต่าง ๆ  ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งนั้น โดยแบ่งเป็น  20  หมวดใหญ่ใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่  A – Z ยกเว้น I Q W X Y   ผสมกับตัวเลขอารบิค   ตั้งแต่เลข  1-9999    และอาจเพิ่มจุดทศนิยมกับตัวเลขได้อีกหมวดใหญ่ทั้ง  20  หมวด   มีดังนี้
 
                            1.  หมวดใหญ่  (Classes)    หรือการแบ่งครั้งที่ 1   แบ่งสรรพวิชาออกเป็น 20  หมวด   โดยใช้ตัวอักษรโรมัน A – Z    เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ
                A             ความรู้ทั่วไป  (General Works)
                B             ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา  (Philosophy  Psychology, Religion)
                C             ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences of History)
                D             ประวัติศาสตร์ทั่วไป และประวัติศาสตร์โลกเก่า  (History : General and Old  World)
E-F          ประวัติศาสตร์ : อเมริกา  (History : America)
G             ภูมิศาสตร์ โบราณคดี  นันทนาการ  (Geography, Antropology, Recreation)
H             สังคมศาสตร์  (Social Sciences)
J              รัฐศาสตร์  (Political Science)
K             กฎหมาย  (Law)
L             การศึกษา (Education)
M            ดนตรี (Music and Books on Music)
N             ศิลปกรรม (Fine Arts)
P              ภาษาและวรรณคดี  (Philology and  Literatures)
Q             วิทยาศาสตร์  (Science)
R             แพทยศาสตร์  (Medicine)
S              เกษตรศาสตร์ (Agriculture)
T             เทคโนโลยี  (Technology)
U             ยุทธศาสตร์ (Military Science)
V             นาวิกศาสตร์ (Naval Science)
Z             บรรณานุกรม และบรรณารักษศาสตร์ (Bibliography, Library Science)
 
                2.  หมวดย่อย  (Division)   หรือการแบ่งครั้งที่  2   คือ  ในแต่ละหมวดใหญ่แบ่งออกเป็นหมวดย่อยได้มากน้อยต่างกัน ในแต่ละหมวดย่อยใช้ตัวอักษรโรมันตัวใหญ่สองตัวแทนเนื้อหาของหนังสือยกเว้นหมวด  E-F  และหมวด  Z  ใช้อักษรตัวเดียวกับตัวเลข
                ตัวอย่างหมวด  B  แบ่งออกเป็น  14   หมวดย่อยดังนี้
                B                             ปรัชญา
                BC                          ตรรกวิทยา
                BD                          ปรัชญาพยากรณ์ อภิปรัชญา
                BF                           จิตวิทยา
                BH                          สุนทรียศาสตร์
                BJ                           จริยศาสตร์
                BL                          ศาสนาต่าง ๆ เทพปกรณัม
                BM                         ศาสนายิว
                BP                           ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ
                BQ                          พุทธศาสนา
                BR                          ศาสนาคริสต์
                BS                           คัมภีร์ไบเบิล
                BT                          เทววิทยาเชิงคริสต์ศาสตร์
                BV                          เทววิทยาภาคปฏิบัติ
                BX                          คริสตศาสนานิกายต่าง ๆ
 
ตัวอย่าง หมวด T  แบ่งออกเป็น 16  หมวดย่อยดังนี้
                T                             เทคโนโลยี
                TA                          วิศวกรรมศาสตร์ทั่วไป วิศวกรรมโยธา
                TC                          วิศวกรรมศาสตร์
                TD                          เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสุขาภิบาล
                TE                           วิศวกรรมทางหลวง ถนน  และผิวการจราจร
                TF                           วิศวกรรมรถไฟและการปฏิบัติการ
                TG                          วิศวกรรมสะพาน
                TH                          การก่อสร้างอาคาร
                TJ                            วิศวกรรมเครื่องกลและเครื่องจักร
                TK                          วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมนิวเคลียร์
                TL                           ยานพาหนะ การบิน ยานอวกาศ
                TN                          วิศวกรรมเหมืองแร่ โลหการ
                TP                           เคมีเทคนิค
                TR                          การถ่ายภาพ
                TS                           โรงงาน
                TT                           งานฝีมือ
                TX                          คหกรรมศาสตร์
                3.  หมู่ย่อย (Section)   หรือการแบ่งครั้งที่ 3  คือ  จากหมวดย่อย  แบ่งละเอียดเป็นหมู่ย่อยโดยวิธีเติมตัวเลขอารบิค  ตั้งแต่ 1-9999   เช่น
                PN1                        วารสารสากล
                PN2                        วารสรอเมริกันและอังกฤษ
                PN86                      ประวัติการวิจารณ์
                PN101                   ผู้แต่งอเมริกันอังกฤษ
            4.  จุดทศนิยม   หรือการแบ่งครั้งที่ 4
จากการแบ่งเป็นหมู่ย่อย  ยังสามารถแบ่งให้ละเอียดโดยการใช้จุดคั่นและตามด้วยอักษรและตัวเลข  เพื่อแสดงรายละเอียดหมวดเรื่อง หรือรูปแบบ หรือประเทศ เช่น
                PN6100.C7           รวมโคลงกลอนของวิทยาลัย
                PN6100.H8          เรื่องขำขัน
                PN6519.C5           สุภาษิตจีน
 
โพสโดย : joy ลั้นลา
IP : 182.52.27.179
โพสเมื่อวันที่ : 21 ก.ค. 2556,13:26 น.
สมาชิกล็อกอินเข้าระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
ชื่อล็อกอิน:
รหัสผ่าน: